Saturday, October 10, 2009

เลือดและการบริจาคเลือด

เลือดและการบริจาคเลือด

เลือดคืออะไร?

เลือดเป็นของเหลวที่สำคัญในร่างกายที่ใช้ในการลำเลียงสารอาหาร ที่ผ่านการย่อยสลายแล้วไปยังเซลล์ต่างๆทั่วร่างกาย นอกจากสารอาหารแล้วเลือดยังทำหน้าที่ในการลำเลียงก๊าซออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ที่เข้าและออกจากปอดด้วย

นอกจากหน้าที่สำคัญข้างต้น เลือดยังทำหน้าที่สำคัญอีกหลายอย่างที่เราอาจจะไม่ทราบ อย่างเช่น การลำเลียงสารต่อต้านเชื้อโรคจำพวก Antiboby, ลำเลียงฮอร์โมน, เอนไซม์ไปทั่วร่างกาย และยังทำหน้าที่ควบคุมอุณหภูมิให้คงที่อีกด้วย



คุณสมบัติของเลือด

เลือดของคนเราเป็นเบสอ่อน และมีปริมาณประมาณร้อยละ 8 ของน้ำหนักร่างกายหรือประมาณ 5-6 ลิตรในผู้ชาย 4-5 ลิตรในผู้หญิง

ประวัติการบริจาคเลือด

การให้เลือดที่ได้รับการบันทึกของมนุษย์เกิดขึ้นครั้งแรกจากการให้เลือดของแกะสู่คน ในประเทศฝรั่งเศสและอังกฤษเมื่อสามร้อยกว่าปีที่ผ่านมา มีการบันทึกว่าได้ผลดีกับผู้ป่วยบางคน แต่มีผลเสียกับผู้ป่วยจนถึงแก่ชีวิตทำให้การให้เลือดจากแกะสู่คนต้องหยุดชะงักลง

การให้เลือดจากคนสู่คนครั้งแรกเกิดขึ้นในประเทศอังกฤษ โดย เจมส์ บลันเดลล์ (James Blundell) ซึ่งต่อมาใช้การให้เลือดอย่างแพร่หลาย เนื่องจากสงครามระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมัน แต่การให้เลือดระหว่างมนุษย์ช่วงแรกก็ยังมีปัญหาอยู่ คือการแข็งตัวของเลือดหลังการเจาะก่อนการนำไปใช้กับผู้ป่วยและการเกิดปฎิกิริยาต่อต้านของผู้รับเลือด


ปัญหาทั้งสองถูกแก้ไขในภายหลัง โดยมีการเติมสารต่อต้านการแข็งตัวของเลือดหลายชนิดลงไปเพื่อยืดอายุการแข็งตัวของเลือด ซึ่งปัจจุบันใช้น้ำยา ซีพีดี (Citrate Phosphate-Dextrose) ซึ่งสามารถทำให้เก็บเลือดได้นานขึ้นอีกถึง 30 วัน


ส่วนการเกิดปฎิกิริยาระหว่างการรับเลือดมนุษย์ด้วยกันนั้นเกิดจากที่ให้เลือดไม่ตรงกับหมู่เลือดของผู้รับ ซึ่งทำให้เกิดการค้นพบหมู่เลือด A, B, O, AB และหมู่เลือดระบบ Rh ในเวลาต่อมา

การบริจาคเลือดในไทย

ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าการให้เลือดครั้งแรกในไทยทำโดยใคร แต่เชื่อว่าเกิดขึ้นครั้งแรกที่ ศิริราช เกือบ 80 ปีที่ผ่านมา ส่วนธนาคารเลือดในไทยตั้งขึ้นมาช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

ส่วนสภากาชาดไทย ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี 2436 เดิมชื่อ สภาอุณาโลมแดงแห่งชาติสยาม สภากาชาดไทยตั้งเป้าหมายว่าต้องหาโลหิตจากการบริจาคไม่น้อยกว่า 1.6 ล้านยูนิต ซึ่งจะต้องเป็นเลือดที่ผ่านการตรวจสอบวิเคราะห์หา ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ บี, ไวรัสตับอักเสบซี และเอดส์แล้ว ปัจจุบันเกือบร้อยละ 5 ของเลือดที่ได้รับบริจาคจะพบเชื้อดังกล่าว

ข้อควรรู้เกี่ยวกับการบริจาคเลือด

1. การให้เลือดเป็นวิธีเดียวที่จะแก้ไขปัญหาการเสียเลือดมากเกินไปของผู้ป่วย ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาภาวะช๊อกที่เกิดจากการเสียเลือดมาก

2. การบริจาคเลือดไม่เกิดอันตรายใดๆกับผู้ให้เลือดเนื่องจากการให้เลือดนั้น จะเป็นการให้เลือดในส่วนเลือดสำรองของร่างกายเท่านั้น

3. บุคคลที่สามารถให้เลือดได้นั้นควรมีอายุ 18-60 ปี น้ำหนัก 45 กิโลกรัมขึ้นไป มีสุขภาพร่างกายแข็งแรง นอนหลับเพียงพอ เลือดของผู้ให้ไม่ควรมีอันตรายกับผู้รับ เช่น ไม่ควรมีเชื้อ ซิฟิลิส ไวรัสตับอักเสบ และเอดส์

4. การบริจาคเลือดใช้เวลาประมาณ 10-15 นาที ระยะเวลารวมการลงทะเบียนและตรวจสอบเบื้องต้นรวมแล้วไม่เกิน 45 นาที ควรดื่มน้ำ 3-4 แก้ว, งด แอลกฮอล์และบุหรี่ ก่อนบริจาค

5. หลังบริจาคเลือดควรดื่มน้ำมากกว่าปกติ เลี่ยงเลียงการออกกำลังกายที่เสียเหงื่อมาก งดใช้กำลังแขนข้างที่เจาะ และรับประทานอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง

6. หมู่เลือดมีความสำคัญมากกับการให้เลือด ในประเทศไทย หมู่เลือดที่พบเยอะที่สุดคือ O พบน้อยที่สุดคือ AB และ Rh- จะพบ1-3 คนจากคน 1000 คน

7. หมู่เลือดเดียวกันสามารถให้และรับเลือดหมู่เดียวกันได้7. หมู่เลือด O สามารถให้ได้ทุกหมู่เลือดแต่จะรับได้เฉพาะหมู่เลือด O เท่านั้น

8. หมู่เลือด AB จะสามารถรับเลือดได้จากทุกหมู่เลือด แต่ไม่สามารถให้เลือดหมู่เลือดอื่นได้นอกจากหมู่เลือด AB เท่านั้น

9. หมู่เลือด Rh+ สามารถรับเลือด Rh+ และ Rh- ได้

10 หมู่เลือด Rh- สามารถรับได้เฉพาะ Rh- เท่านั้น

11. เลือดที่ได้รับบริจาคสามารถเก็บได้เป็นปี ด้วยกระบวนการพิเศษเก็บเป็นเลือดแข็ง หรือเก็บได้ประมาณ 30วัน ที่อุณหภูมิ 2-4 องศาเซลเซียส

12. การบริจาคเลือดแต่ละครั้งจะบริจาคประมาณ 0.3-0.5 ลิตร และไม่ควรบริจาคมากกว่า 3 เดือนต่อครั้ง

ข้อมูล:

1. สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 8 [เลือด และธนาคารเลือดในประเทศไทย]

2. รายการวิทยุจุฬาฯ คลินิก 101.5 ออกอากาศ วันศุกร์ที ่ 30 เมษายน พ.ศ. 2547

3. สภากาชาดไทย

Aunn..

No comments:

Post a Comment